งานบริการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ
ทีมวิจัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยภายใต้ศูนย์พันธุวิศวกรรมชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งให้บริการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ ได้แก่ ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อก่อโรคติดต่อในคน และจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช รวมทั้งให้บริการทดสอบความเป็นพิษของสารต่อเซลล์สัตว์ชนิดต่างๆ
การทดสอบที่ให้บริการ
มีการทดสอบ 3 ระดับได้แก่
- การทดสอบเบื้องต้นเพื่อดูผล Positive หรือ Negative – เป็นการทดสอบสารที่ระดับความเข้มข้นเดียว (50 µg/ml) (ได้ผลการทดสอบภายใน 45 วัน)
- การทดสอบหาค่า Half maximum inhibitory concentration (IC50) หรือ minimum inhibitory concentration (MIC90) – การทดสอบสารที่ 6 ระดับความเข้มข้น (ได้ผลการทดสอบภายใน 60 วัน)
- การทดสอบหาค่า IC50 หรือ MIC90 3 ครั้ง เพื่อหาค่า standard deviation (SD) (ได้ผลการทดสอบภายใน 90 วัน)
ประเภทของการทดสอบ
- การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์สัตว์
เป็นการทดสอบฤทธิ์ของสารตัวอย่างในการยับยั้งการเจริญของเซลล์ โดยการวัดปริมาณเซลล์ที่มีชีวิต ด้วยวิธี 2 วิธี คือการวัดปริมาณโปรตีนเรืองแสงสีเขียว (green fluorescent protein, GFP) ในเซลล์ไตลิง และวิธี resazurin microplate assay สำหรับเซลล์ชนิดอื่นๆ โดยมีเซลล์ชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการทดสอบดังนี้
- Vero (เซลล์ไตลิง)
- MCF-7 (เซลล์มะเร็งเต้านม)
- NCI-H187 (เซลล์มะเร็งปอด)
- Human dermal fibroblast (เซลล์ผิวหนัง)
- การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคในคน
ใช้วิธี microplate dilution ตามแนวทางปฏิบัติของ Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI) โดยทดสอบกับเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในคนชนิดต่างๆดังนี้
- เชื้อแบคทีเรีย
Klebsiella pneumoniae
Escherichia coli
Bacillus cereus
Enterococcus faecium
Staphylococcus aureus
Mycobacterium tuberculosis (H37Ra)
- เชื้อรา
Candida albicans
- เชื้อไวรัส
Herpes simplex virus type 1 (HSV 1)
- การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคในพืช
เป็นการทดสอบฤทธิ์ของสารในการยับยั้งการงอกและการเจริญของสปอร์เชื้อรา โดยการวัด metabolic activity ของสปอร์เชื้อราที่กำลังงอก (germling) โดยใช้สาร carboxy fluorescein diacetate (CFDA) ซึ่งเป็น esterase substrate fluorescent dye โดยมีเชื้อราก่อโรคพืชที่ใช้ในการทดสอบดังนี้
- Colletotrichum acutatum (โรคแอนแทรคโนส)
- Curvularia lunata (โรคเมล็ดด่างในข้าว)
- Alternaria brassicicola (โรคใบจุด)
ความร่วมมือวิจัย และการให้บริการทดสอบแบบรายโครงการ
ทีมวิจัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมีประสบการณ์ในการทำวิจัยเพื่อค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากจุลินทรีย์มานานกว่า 20 ปี จึงมีความเชี่ยวชาญในการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ โดยใช้วิธีทดสอบทั้งที่เป็น cell-based assay เพื่อประเมินศักยภาพในการนำสารออกฤทธิ์ไปใช้ประโยชน์ และใช้วิธีทดสอบที่เป็น biochemical assay เพื่อศึกษากลไกในการออกฤทธิ์ของสาร ทีมวิจัยฯ มีความยินดีที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาโครงการวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีความพร้อมในการให้บริการพัฒนาวิธีการทดสอบที่เฉพาะ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้ขอรับบริการในรูปแบบ contract research
ติดต่อสอบถาม
โทร. 02-5646700 ต่อ 3467, 3469 หรือ E-mail : bioassayservice@biotec.or.th