Slide background

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

Slide background
Slide background
Slide background
Slide background
Slide background
Slide background

Slide background

TBRC app

A simple way to place an order for

biological materials from TBRC

Slide background

Thai Fungi

a new app for a reference guild of fungi found in Thailand

Slide background
Slide background
Slide background
Slide background


ข่าวสารองค์กร

 


ข่าวสารการประชุม


ฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) วันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2564

Read more ...

ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร
Food Biotechnology Laboratory

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ ตลอดกระบวนการตั้งแต่การผลิต การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การแก้ไขปัญหา และการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

งานวิจัยและพัฒนา

  • การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านการคัดเลือกและประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมักรวมถึงอาหารสัตว์ การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก
  • ความปลอดภัยอาหาร โดยการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณตลอดกระบวนการตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภค เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในการควบคุมความเสี่ยงจากเชื้อก่อโรค และการประเมินความปลอดภัยจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาต
  • งานทางด้านเคมีอาหาร โดยเน้นศึกษาด้านโปรตีนอาหาร ไขมันอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพเนื้อสัตว์และการแปรรูปเนื้อสัตว์ รวมถึงการพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ

ผลงานเด่น

  • ต้นเชื้อสำหรับอาหารหมักชนิดต่างๆ เช่นแหนม ผักดอง น้ำส้มสายชูหมัก
  • ต้นเชื้อสำหรับการหมักอาหารสัตว์ที่มีประสิทธิภาพและยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสัตว์หมักได้นานขึ้น
  • การใช้ข้อมูลด้านการประเมินความเสี่ยงสนับสนุนการขอปรับปริมาณฮีสตามีนในน้ำปลาจาก 200 ppm เป็น 400 ppm (มาตรฐานน้ำปลา CODEX STAND)
  • การใช้ประโยชน์จากไข่อย่างครบวงจร ทั้งการควบคุมคุณภาพไข่พาสเจอร์ไรซ์ การผลิตไบโอแคลเซียมจากเปลือกไข่ การผลิตอาหารเสริมโปรคอลลาเจนจากเยื่อหุ้มไข่ การผลิตไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงจากไข่ขาว

เครื่องมือและอุปกรณ์วิจัยที่สำคัญ

  • Gas chromatography-triple quadrupole mass spectrometry (GC-TQ)
  • Gas chromatography-quadrupole time-of-flight mass spectrometry (GC-QTOF-FID-FPD)
  • Gas chromatography-flame ionization detector (GC-FID)
  • High performance liquid chromatography (HPLC-DAD-Fluorescence)
  • Fast protein liquid chromatography (FPLC) with UV and conductivity detectors
  • Flash and preparative chromatography with UV and ELSD detectors (in-house collaboration)
  • High performance anion exchange chromatography with pulsed amperometric detection (HPAEC-PAD)
  • Texture analyzer and Colorimeter 
  • Kjeldahl digestion and distillation Units
  • Ultrasonic probe sonicator
  • Animal cell culture facilities
  • MicroBeta2 microplate counters for radiometric detection
  • PCR, droplet digital (dd) PCR, real time PCR
  • Agarose and acrylamide gel electrophoresis
  • Gel documentation system
  • Chemidoc imaging systems (fluorescence, colorimetry, chemiluminescence, and chemifluorescence)
  • Safety cabinets and Anaerobic chambers
  • Fluorescence microscope
  • Multimode microplate readers with environmental control features
  • Lab-scale High pressure processing (HPP)
  • Cross flow ultrafiltration (UF) and microfiltration (MF)
  • Lab-scale Bioreactor, Lab-scale Spray dryer, Mixing tank
  • The TNO Gastro-Intestinal System (TIM-1 and TIM-2)
  • Climate chamber for stability testing

หัวหน้าห้องปฏิบัติการ

ดร. นิภา โชคสัจจะวาที

ติดต่อ

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700
โทรสาร 0 2564 6707
 
 
การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านการคัดเลือกและประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมักรวมถึงอาหารสัตว์ การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวกระบวนการ

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวกระบวนการ
Bioprocess Technology Laboratory

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวกระบวนการ มุ่งเน้นงานวิจัยเชิงประยุกต์ในการพัฒนาและวิศวกรรมกระบวนการผลิตชีวมวลเซลล์และสารชีวภัณฑ์หรือสารมูลค่าสูงจากจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ทั้งแบคทีเรีย ยีสต์และรา ด้วยเทคโนโลยีชีวกระบวนการเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการหมักแบบแข็งและการหมักแบบเหลว รวมถึงการพัฒนากระบวนการปลายน้ำ ทั้งในระห้องปฏิบัติการและระดับโรงงานต้นแบบ เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตจากจุลินทรีย์และการสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ของประเทศ

งานวิจัยและพัฒนา

  • การออกแบบและพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อ สำหรับการหมักจุลินทรีย์แบบเหลวและแบบแข็ง 
  • การปรับปรุง พัฒนาและวิศวกรรมกระบวนการหมักแบคทีเรีย ยีสต์และรา
  • การขยายขนาดการผลิตชีวมวลเซลล์และสารเมทาบอไลท์จากจุลินทรีย์ในระดับโรงงานต้นแบบ
  • การพัฒนาแพลทฟอร์มเชื้อราเส้นใยเพื่ออุตสาหกรรมชีวภาพ สำหรับการผลิตลิปิดเชิงหน้าที่และสารชีวภัณฑ์ ด้านการศึกษาระดับจีโนม การปรับแต่งยีน (gene editing) และวิศวกรรมวิถีเมทาบอลิสมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหมักและกระบวนการปลายน้ำ  

ผลงานเด่น

  • การควบคุมการสังเคราะห์ลิปิดที่มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ (functional lipid) ของจุลินทรีย์ และการพัฒนากระบวนการผลิตกรดไขมันจำเป็น (essential fatty acids) จากจุลินทรีย์ ได้แก่ กรดไขมันสายยาวในกลุ่มโอเมก้าหก (กรดแกมม่าลิโนเลนิค กรดสเตียริโดนิค กรดไดโฮโม แกมม่าลิโนเลนิค และกรดอะราชิโดนิค) กรดคอนจูเกทเทด ลิโนเลนิค และกรดไขมันสายยาวในกลุ่มโอเมก้าสาม
  • แพลทฟอร์มเซลล์เชื้อราและกระบวนการหมัก เพื่อการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม สำหรับการผลิตลิปิดเชิงหน้าที่และสารชีวภัณฑ์ 
  • กระบวนการผลิตเซลล์ยีสต์โพรไบโอติคในระดับโรงงานต้นแบบ 
  • ต้นแบบเชิงพาณิชย์กระบวนการผลิตยาแก้ไอแผนโบราณในระดับอุตสาหกรรม 
  • กระบวนการผลิตสปอร์จากราเขียวในระดับโรงงานต้นแบบ  

เครื่องมือและอุปกรณ์ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับโรงงานต้นแบบ

  • ถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor) สำหรับการหมักแบบเหลวในระดับห้องปฏิบัติการ (ขนาด 250 มิลลิลิตร, 2, 5 และ10 ลิตร) และระดับโรงงานต้นแบบ (ขนาด 40 และ 300 ลิตร)
  • ถังปฏิกรณ์ชีวภาพแนวตั้ง (Vertical bioreactor) สำหรับการหมักแบบแข็งในระดับโรงงานต้นแบบ (ขนาด 500 กิโลกรัม) 
  • เครื่องมือสำหรับกระบวนการปลายน้ำ (Downstream processing) ในระดับโรงงานต้นแบบ (Microfluidic, ultra cross-flow filtration, continuous centrifuge, rotary drum dryer, freeze dryer, mixing tank) 
  • เครื่องมือพื้นฐานสำหรับงานวิเคราะห์เมทาบอไลท์และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์

ผู้หัวหน้าห้องปฏิบัติการ

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง

ติดต่อ

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวกระบวนการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700
โทรสาร 0 2564 6707
 
 
การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านการคัดเลือกและประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมักรวมถึงอาหารสัตว์ การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก

ห้องปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านสัตว์น้ำ

ห้องปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านสัตว์น้ำ
Aquaculture Product Development and Services Laboratory

ห้องปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านสัตว์น้ำ ห้องปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านสัตว์น้ำ (AAPS หรือ SBBU เดิม) ตั้งอยู่ที่อาคารโรงงานต้นแบบไบโอเทค มีระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขนาด pilot scale พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำสำหรับการทำวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ facility สำหรับทำการตรวจโรคและทำงานวิจัยด้าน molecular biology ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นอกเหนือจากงานวิจัยของห้องปฏิบัติการแล้วก็ยังมีความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการอื่นๆใน ศช หน่วยงานภายนอก และภาคเอกชนที่ต้องการใช้ facility เพื่อการทำวิจัย และมีบริการตรวจเชื้อก่อโรคกุ้งด้วยเทคนิค PCR (ISO9001 certified) อีกด้วย

งานวิจัยและพัฒนา

  • การเพาะเลี้ยงกุ้งในระบบต่างๆเช่น ระบบน้ำหมุนเวียน ระบบไบโอฟล็อค
  • การศึกษาประชากรแบคทีเรียในระบบเพาะเลี้ยงและในสัตว์น้ำเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพหรือควบคุมการเกิดโรค 
  • การพัฒนาเทคนิคตรวจโรคในสัตว์น้ำด้วยเทคนิคต่างเพื่อนำไปต่อยอดในงานบริการหรือเป็นผลิตภัณฑ์

ผลงานเด่น

  • ผลิตภัณฑ์ชุดตรวจโรคกุ้ง EzeeGeneÒ ด้วยเทคนิค Nested PCR และ LAMP Speedy Color

เครื่องมือและอุปกรณ์วิจัยที่สำคัญ

  • ระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบน้ำหมุนเวียน 3 ระบบ ซึ่งประกอบไปด้วย ถังเพาะเลี้ยง (3 ขนาด รวม 70 ถัง) ระบบปั๊มลม ปั๊มอากาศ ระบบ biofilter beadfilter  
  • ห้องเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับการทดลอง pathogen challenge 
  • ห้องปฏิบัติการ molecular lab (PCR, gel electrophoresis, microplate reader,  centrifuge, incubator, freezers, biosafety cabinet)

หัวหน้าห้องปฏิบัติการ

ดร. เสจ ไชยเพ็ชร

ติดต่อ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700
โทรสาร 0 2564 6707
 
 
การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านการคัดเลือกและประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมักรวมถึงอาหารสัตว์ การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก

ห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม

ห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม
Genomic Research Laboratory

ห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี high-throughput sequencing เพื่อใช้ในการหาลำดับเบสของดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อทำการศึกษาระดับจีโนมและทรานสคริปโตม สร้างแผนที่พันธุกรรม และเพื่อค้นหายีนที่สัมพันธ์กับลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจ พัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ การศึกษาโครงสร้างจีโนมและเปรียบเทียบความแตกต่างของจีโนม โดยนำเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นไปประยุกต์กับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรและการแพทย์ให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน

งานวิจัยและพัฒนา

  • การใช้ความเชี่ยวชาญทางด้าน population genetics, evolutionary และ functional genomics ในการสร้าง Fosmid/BAC libraries and 20kb-PacBio libraries เพื่อใช้ในการศึกษาลำดับเบสของจีโนม โดยในส่วนของการค้นหาและศึกษา genetic variation ในลำดับเบสของ DNA ทั่วทั้งจีโนมนั้น ทีมวิจัยสามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่อง sequencing technologies ได้อย่างหลากหลายอาทิ เช่น Ion Torrent, Illumina และ Pacific Biosciences โดยผลของการศึกษาลำดับเบสนั้นสามารถนำไปต่อยอดในงานทางด้าน de novo genome assembly, reference mapping, gene annotation และ comparative genomics ได้เป็นอย่างดี
  • การศึกษาลำดับเบสของ RNA โดยการสร้างลำดับเบสของ EST/cDNA/RNA/miRNA  เพื่อใช้ในการศึกษาด้าน gene expression profiles, alternate splicing รวมไปถึง transcript annotation ซึ่งลำดับเบส RNA มักถูกนำไปใช้ศึกษาในงานด้าน gene expression profiles งานด้าน alternate splicing และค้นหา transcripts ใหม่ๆ
  • การใช้ความเชี่ยวชาญด้าน genetic linkage analysis เทคนิค Genotyping-by-sequencing (GBS) เช่น reduced representation library (RRL) sequencing, targeted enrichment sequencing or amplicon sequencing ในการศึกษา genetic variation ใน populations ของพืชเศรษฐกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการระดับประเทศ 
  • งานด้าน metagenomics โดยการทำ shotgun หรือ amplicon sequencing ของ 16S, 18S, ITS fragments บนเครื่อง Ion Torrent หรือ PacBio สามารถใช้ศึกษา genetic diversity ในสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจ เช่น ป่าพรุ แนวปะการังชายฝั่ง กระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องลำไส้ของปลวก เป็นต้น

ผลงานเด่น

  • Pootakham W, Mhuantong W, Yoocha T, Putchim L, Sonthirod C, Naktang C, Thongtham N, Tangphatsornruang S. (2017) High resolution profiling of coral-associated bacterial communities using full-length 16S rRNA sequence data from PacBio SMRT sequencing system. Scientific Reports, 7, Article number: 2774. doi10.1038/s41598-017-03139-4. 
  • Shearman, JR, Sonthirod, C, Naktang, C, Pootakham, W, Yoocha, T, Sangsrakru, D, Jomchai, N, Tragoonrung, S, Tangphatsornruang, S. The two chromosomes of the mitochondrial genome of a sugarcane cultivar: Assembly and recombination analysis using long PacBio reads (2016) Scientific Reports, 6, Article number: 31533. doi:10.1038/srep31533. 
  • Pootakham W, Sonthirod C, Naktang C, Ruang-Areerat P, Yoocha T, Sangsrakru D, Teerawattanasuk K, Rattanawong R, Lekawipat N, Tangphatsornruang S. (2017) De novo hybrid assembly of the rubber tree genome reveals evidence of paleotetraploidy in Hevea species. Scientific Reports, 7, Article number: 41457. doi10.1038/srep41457.
  • Somyong S, Poopear S, Sunner SK, Wanlayaporn K, Jomchai N, Yoocha T, Ukoskit K, Tangphatsornruang S, Tragoonrung S (2016) ACC oxidase and miRNA 159a, and their involvement in fresh fruit bunch yield (FFB) via sex ratio determination in oil palm. Molecular Genetics and Genomics 291:1243-1257.

เครื่องมือและอุปกรณ์วิจัยที่สำคัญ

  • PacBio RS II (single-molecule, long-read) sequencing platform
  • Ion S5 (short-read) sequencing platform
  • MassARRAY SNP genotyping platform
  • ZAG (Zero Agarose Gel) fragment analyzer
  • Pulse-field gel electrophoresis system
  • Fragment Analyzer (for measuring nucleic acid quality and quantity)
  • Pippin Pulse (for high molecular weight DNA size selection)
  • 96-well & 384-well PCR thermocyclers
  • 96-well liquid handler
  • Qubit Spectrophotometer

หัวหน้าห้องปฏิบัติการ

ดร. วิรัลดา ภูตะคาม

ติดต่อ

ห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700
โทรสาร 0 2564 6707
 
 
การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านการคัดเลือกและประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหมักรวมถึงอาหารสัตว์ การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก