กลยุทธ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการนี้มีส่วนช่วยสนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการขยะพลาสติกของไทยปี 2561-2573 โดยช่วยส่งเสริมการใช้พลาสติกชีวภาพและพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในวงกว้าง ซึ่งส่งผลต่อการลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเล พลาสติกชีวภาพนี้ได้รับการระบุว่าเป็นวัสดุที่มีศักยภาพในการนำมาทดแทนการใช้พลาสติกจากฟอสซิลได้ นอกจากนี้โครงการนี้ยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG) ของประเทศไทย และโครงการนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ SDG9 (สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม), SDG 12 (สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) และ SDG 17 (เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน) ยิ่งไปกว่านั้นโครงการนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพแห่งชาติของเยอรมนี และแผนปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์ยุโรปสำหรับพลาสติกในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ของยุโรป อีกทั้งยังสนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านชีวเศรษฐกิจ 2030 ของเยอรมนี ตลอดจนยุทธศาสตร์เพื่อความเป็นสากลด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และการวิจัยของรัฐบาลกลางซึ่งพัฒนาโดยกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยแห่งสหพันธรัฐ (BMBF)

ข้อมูลเพิ่มเติมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDG) :