กิจกรรม |
1. การจัดทำคู่มือการจัดประสบการณ์เสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยตามโครงการนักวิทยาศาสตร์น้อย |
2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแนะนำหลักสูตร แนวทางการจัดการเรียนรู้ และตัวอย่างกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย |
3. การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน |
4. การอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 เป็นการแนะนำตัวอย่างกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ (ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปีของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ป.1) |
5. การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน |
6. การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแนะนำการวัดและประเมินผล และการนำไปใช้ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้นำความรู้จากการอบรมไปใช้ในการจัดการเรียนรู้จริง |
7. รวบรวมข้อมูล ถอดบทเรียน จัดทำรายงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการฯ |
8. ร่างคู่มือครู |
2) แผนงานพัฒนาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กิจกรรม |
1. ประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมทั้งรับสมัครโรงเรียนที่สนใจในพื้นที่ปฏิบัติการของโครงการ SiRS เข้าร่วมโครงการ |
2. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่องทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เพื่อปูพื้นฐานให้กับครูผู้สอนในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดมความคิด ออกแบบการสอนและร่วมวางแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน เรื่องทักษะกระบวนการวิทย์เบื้องต้น |
3. ครูส่งแผนการสอนและตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น |
4. ติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 (หลังจากครูได้ทำการสอนเรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ให้กับนักเรียน) |
5. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 เรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ กำหนดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร ออกแบบการทดลอง วิเคราะห์สรุปผล ฯลฯ |
6. ครูส่งเค้าโครงการทำโครงงาน เช่น หัวข้อเรื่อง ผลการสืบค้นข้อมูล ขั้นตอนวิธีการทดลอง และผลการทดลอง |
7. การติดตามประเมินผลครั้งที่ 2 จัดคลีนิกโครงงานให้คำปรึกษาในการทำโครงงานแก่ครูและนักเรียน |
8. จัดประกวดโครงงานฯ ในระดับท้องถิ่น และส่งโครงงานดีเด่นเข้าประกวดในระดับภูมิภาค/ประเทศ |
9. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ |
10. ร่างคู่มือครูและเก็บรวบรวมตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเครือข่าย จัดทำเป็นฐานข้อมูล |
(2) โครงการค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในท้องถิ่น
กิจกรรม |
1. จัดทำหลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนแกนนำ ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ |
2. จัดค่ายวิทยาศาสตร์ ในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติการ |
3. จัดทำฐานข้อมูลนักเรียนแกนนำ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการทำกิจกรรมในชุมชนต่อไป |
4. สนับสนุนกลุ่มนักเรียนแกนนำในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในชุมชน |
5. สนับสนุนนักเรียนเรียนดีและนักเรียนที่เป็นแกนนำได้เข้าอบรมที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร |
6. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ |
7. จัดทำต้นฉบับ“แนวทางและตัวอย่างการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับท้องถิ่น” เพื่อเผยแพร่ |
3) แผนงานพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายของโรงเรียน ประกอบด้วย
(1) โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการกับโครงการเกษตรอาหารกลางวัน
กิจกรรม |
1. การจัดทำคู่มือการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบบูรณาการ แผนการเรียนรู้ “เห็ดนางฟ้า” |
2. ประชาสัมพันธ์ให้โรงเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการ พร้อมทั้งรับสมัครโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ |
3. การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแนะนำหลักสูตร แนวทางการจัดการเรียนรู้ และตัวอย่างกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ |
4. จัดทำรายงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการฯ |