เรื่องเด่น

CM GL cover

แนวทางปฏิบัติเพื่อประเมินความปลอดภัยของอาหารที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์

 new blink

 

Probiotic minimum Thai

ข้อกำหนดขั้นต่ำ (minimum requirement) และหลักเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยของการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร

 

Probiotic Guidelines Eng

Guidelines  for the document preparation for safety evaluation of probiotics

 

Biosafety Guideline

แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ 

 

 

ppt bg Page 002
เนื้อหาบรรยาย 
  • พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartegena Protocol on Biosafety) อยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ   (Convention on Biological Diversity) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2546 ปัจจุบันมีประเทศภาคีทั้งสิ้น 132 ประเทศ 
  • พิธีสารฯ เกิดขึ้นตามมาตรา 19.3 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่กำหนดให้ประเทศภาคี (Parties) วางกระบวนการในการขนย้าย ดูแลและใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัยซึ่งสิ่งมีชีวิตอันเป็นผลจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยคำนึงถึงสุขภาพของมนุษย์
  • พิธีสารฯ ยังคงสิทธิอำนาจให้รัฐจัดการควบคุม ดูแลการใช้ GMOs ภายในของแต่ละประเทศ
  • สำหรับประเทศไทย ได้อนุวัตพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพฯ  เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 และมีผลบังคับให้ต้องปฏิบัติตามพิธีสารฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ทำหน้าที่เป็น National  Focal Point ของพิธีสารฯ