เนื้อหาบรรยาย
เนื้อหาของหลักสูตรการฝึกใช้แนวทางปฏิบัติ ประกอบด้วย 3 บท ได้แก่
- บทที่ 1 กฎระเบียบในการกำกับดูแลควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ
- บทที่ 2 การประเมินความเสี่ยง
- บทที่ 3 แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ส่วนที่ 1 ขอบเขตแนวทางปฏิบัติฯ
- ส่วนที่ 2 ระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
- ส่วนที่ 3 ระดับความปลอดภัยของถังหมักและโรงเรือน
- ส่วนที่ 4 การขนส่งและการจัดการของเสีย
- บทที่ 4 การฝึกปฏิบัติการใช้แนวทางปฏิบัติฯ
ส่วนที่ 1 กฎระเบียบในการกำกับดูแลควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ
เนื้อหาบรรยาย
กฎระเบียบที่ใช้กำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพ มีในหลายระดับ ทั้งกฎระเบียบสากลและกฎระเบียบของประเทศไทย โดยมีทั้งในรูปแบบของกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ และในรูปแบบของแนวทางปฏิบัติซึ่งเป็นแบบสมัครใจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- กฎระเบียบสากลในการกำกับดูแลและควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้แก่ พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety)
- International regulations อื่นๆ เช่น องค์การการค้าโลก และ Codex Alimentarius
- กฎหมายที่ใช้บังคับ / พระราชบัญญัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของประเทศไทย
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพต่างๆ
- ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. ………
- แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม
เนื้อหาบรรยาย
ความปลอดภัยทางชีวภาพ หมายถึง
- มาตรการดูแลความปลอดภัยสากลบนหลักการพื้นฐานต่อทั้งสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากวัสดุชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการปฎิบัติงาน
- แนวคิดในการพิจารณาผลกระทบและประเมินความเสี่ยงหรืออันตรายต่อความปลอดภัยของสุขภาพมนุษย์ และความหลากหลายทางชีวภาพอันอาจเกิดขี้นในการวิจัย และพัฒนา การเคลื่อนย้าย การจัดการ และการใช้ประโยชน์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (Genetically Modified Organisms - GMOs) ทั้งในพืช เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และแมลงพาหะ ครอบคลุมถึงการนำพันธุ์ต่างถิ่น (non indigenous species) เข้ามาในระบบนิเวศน์ทั้งในส่วนที่ปล่อยตามธรรมชาติ และที่มีการควบคุม
- ในขณะที่กำลังดำเนินการวิจัยจะต้องมีมาตรการในการควบคุมเพื่อป้องกันมิให้ผลงานวิจัยหลุดรอดออกไปสู่สาธารณะ ก่อนได้รับการพิสูจน์ว่ามีความปลอดภัยในการนำไปใช้ทั้งสิ้น
เนื้อหาบรรยาย
กฎระเบียบสากลที่ใช้กำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพในการเคลื่อนย้าย ดูแล และใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) มีการกำหนดขึ้นโดยองค์กรนานาชาติหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- Cartagena Protocol on Biosafety
- International agreements
- International Plant Protection Convention (IPPC) (1952, 1991, 2005)
- WTO Sanitary and PhytoSanitary agreements (SPS agreement) องค์การการค้าโลก
- Codex Alimentarius
- Regional agreements, e.g. EU, Asia and Pacific Region, ASEAN
- Sub-regional agreements, e.g. Greater Mekong Sub- region (GMS), Southeast Asia
- Bilateral or multilateral agreements