กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานประชุม “ASEAN Innovation Roadmap & Bioeconomy Forum in Conjunction with GBS2020” เพื่อเป็นเวทีระดมสมองให้เกิดแนวทางการใช้ประโยชน์จากแผนที่นำทาง ในการผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ผ่านการประชุมหารือ แลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้แทนจากหน่วยงานในต่างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน และการนำเสนอข้อริเริ่มเชิงสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดในอาเซียน
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีแสดงผลงานทั้ง Onsite และ Virtual Event และมีการถ่ายทอดสดการบรรยาย กับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความหนาแน่นและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ร่วมงาน
ในโอกาสนี้ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค ได้ร่วมบรรยาย ในหัวข้อ “Research and Innovation of Biotechnology in Thailand” และ ยังได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Business and Investment Opportunities of ASEAN Bioeconomy” ร่วมกับผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนชั้นนำไม่ว่าจะเป็น ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมฐานชีวภาพนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ดร. ลัคนา อรรถพิชญ์ รองเลขาธิการการลงทุนและวิเทศสัมพันธ์สำนักงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คุณดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจเคมีภัณฑ์และ CTO- นวัตกรรมและเทคโนโลยีธุรกิจเคมีภัณฑ์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG) ดร. ทัตสึยะ มัตสึโน่ กรรมการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท โทเรอินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด
นอกจากนี้ยังมี มีนักวิจัยไบโอเทคอีกหลายท่านร่วมบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ เช่น ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์ไบโอเทค บรรยายในหัวข้อ “Moving Forward Agricultural Sector”พร้อมกับ ดร.เกรียงไกร โมสาลียานนท์ ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (ACBG) บรรยายในหัวข้อ “Theme 1: Precision, Smart and Digital Agriculture”ดร.สุริยันตร์ ฉะอุ่ม ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านพันธุศาสตร์และสรีรวิทยาพืช (APPT) ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (ACBG) บรรยายในหัวข้อ“Special Seminar on Thai – German Bioeconomy” และ “Theme 2: Phenotyping Platform and Automation Development”ดร.วณิลดา รุ่งรัศมี ทีมวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ (IBIG) บรรยายในหัวข้อ “Understanding Shrimp-Microbe Interaction Using Multi-OmicsTechnology for Sustainable Aquaculture” ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ ทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร (IMIT)บรรยายในหัวข้อ“SAFE – Aqua: Shrimp Genome”
ทั้งนี้ การจัดงานในปีนี้จัดขึ้นเป็นระหว่างวันที่ 16 – 20 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เป็นการจัดคู่ขนานกับ “การประชุมนานาชาติด้านเศรษฐกิจชีวภาพของโลก (Global Bioeconomy Summit-GBS)” Berlin Conference Center (BCC) กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพร่วมในฐานะตัวแทนของภูมิภาคอาเซียน เพื่อผลักดันนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานชีวภาพผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ