การจัด Workshop on the Advancement of Sample Preparation and Analysis for Feed and Food Contaminants

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านความมั่นคงทางอาหาร (International Joint Research Center on Food Security หรือ IJC-FOODSEC) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัย Queen’s University Belfast สหราชอาณาจักร จัดการอบรมเรื่อง Workshop on the Advancement of Sample Preparation and Analysis for Feed and Food Contaminants โดยมี  ดร. วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค เป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรม  ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี

 

ปัจจุบันสารพิษจากเชื้อราเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ และเป็นสาเหตุหลักสำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการตรวจหาสารพิษจากเชื้อราในการผลิตอาหารและอาหารสัตว์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของการปกป้องสุขภาพของประชาชน ลดการสูญเสียอาหาร และเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร

ภายในงานมีการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ  คุณสันติ อาภากาศ Co-Founder & CEO, Tastebud Lab   เรื่อง The roadmap of alternative proteins in Thailand  Prof. Christopher Elliott, Queen’s University Belfast, UK  เรื่อง Overview of measurement methods for food contaminations  State-of-the-art rapid diagnostics for food contaminations  ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ไบโอเทค สวทช.  เรื่อง State-of-the-art rapid diagnostics for food contaminations และ Dr. Nicholas Birse, Queen’s University Belfast, UK  เรื่อง Landscape of instrumental based analysis นอกจากนี้มีการระดมความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ อาทิ  นำ โดย ผศ.ดร.อวันวี เพ็ชรคงแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Group discussion on Rapid diagnostic)  Prof. Christopher Elliott, Queen’s University Belfast, UK  (Group discussion on instrumental based analysis)

        

ทั้งนี้ ในการอบรมเน้นการรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารคนและอาหารสัตว์ที่หน่วยงานภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐกำลังเผชิญอยู่ อันจะนำไปสู่โครงการที่มีศักยภาพที่เกิดจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่แนวทางการแก้ไขต่อไปในอนาคต เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ การสร้าง “ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)” ให้แก่โลก  โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ประกอบด้วยหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ ต่างชาติ จำนวน 38 คน