เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 Dr. Tobias Wojciechowski, Senior Scientist/ Crop Physiologist, Institute of Bio-Geosciences ได้ร่วมหารือความร่วมมือกับ ผศ.ดร.เชาวรีย์ อรรถลังรอง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ณ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เพื่อรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสถาบัน Julich และไบโอเทค และแผนกิจกรรมความร่วมมือในอนาคต และยังได้หารือความร่วมมือเรื่อง sustainable cassava value chain กับ ดร. วรินธร สงคศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ (IBEG)
ในปัจจุบัน สถาบัน Julich และไบโอเทคดำเนินโครงการ Unlocking the potential of a dual purpose crop: utilization of pineapple leaf fibres for bio-based textiles (PiñaFibre) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลฟีโนไทป์ และจีโนไทป์ของสับปะรดทั้งพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูก คัดเลือกพันธุ์ที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพเส้นใยสูง พัฒนากระบวนการผลิตเส้นใย เส้นด้ายและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์แบบนอนวูฟแวน และต้นแบบคอมโพสิตจากเส้นใยใบสับปะรดรวมถึงการประเมินตลาดและห่วงโซ่คุณค่าเส้นใยใบสับปะรดและเผยแพร่ผลแก่ผู้ประกอบการในโคลอมเบีย ไทย และเยอรมนี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 6 สถาบัน โดยมีธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand: NBT) ไบโอเทค รับผิดชอบในส่วนของการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรม (Genotype) ของสับปะรด และ การพัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมของสับปะรด โครงการมีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพของสับปะรดเป็น dual-purpose สำหรับการบริโภคและการแปรรูปเส้นใยจากใบสับปะรดสำหรับภาคอุตสาหกรรม