การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Scientific, Technological and Social Solutions for Sustainable Aquaculture in Thailand

ไบโอเทคร่วมกับ Centre of Environment, Fisheries and Aquaculture Science (Cefas) ประเทศอังกฤษ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Scientific, technological and social solutions for sustainable aquaculture in Thailand: a key player in global aquatic food supply ระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการลดผลกระทบจากโรคสัตว์น้ำพร้อมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น point-of-need diagnostics และการรายงานผล เช่น smartphone reporting system รวมไปถึงแนวทางการรักษาโรคโดยการทำลายการทำงานในระดับยีนของเชื้อก่อโรค นอกจากนี้ยังมีการเชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิต เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทั้งจากประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจากประเทศอังกฤษที่เป็นผู้บริโภคมาให้ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางการทำงานวิจัยที่เหมาะสมในด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคสัตว์น้ำ 

11

 การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือแนวทางการลดผลกระทบจากโรคสัตว์น้ำร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยในประเทศไทยและประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญในฐานะประเทศผู้ผลิตสัตว์น้ำ โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนองานวิจัยและมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังมีวิทยากรจากภายนอก เช่น จากภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมด้วย ได้มีการทำการทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจโรคที่ใช้กันในบ่อเลี้ยง รวมถึงการเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงกุ้ง การประชุมนี้มีผู้เข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 33 คน จากประเทศไทย 16 คน และประเทศอังกฤษ 17 คน และได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากประเทศไทยและประเทศอังกฤษร่วมเป็นที่ปรึกษา 4 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร. ทิมโมที เฟลเกล และ ศ.ดร. บุญเสริม วิทยชำนาญกุล หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Dr. David Bass, Cefas and the Natural History Museum ประเทศอังกฤษ และ Dr. Bryony Williams, The University of Exeter ประเทศอังกฤษ 

4

 การจัดประชุมครั้งนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก British Council และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยของประเทศไทย (สกว.) ผ่านทางโครงการ “British Council Researcher Links” ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่จากประเทศอังกฤษและนักวิจัยจากประเทศอื่นได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้งานวิจัยของกันและกัน และพัฒนาให้เกิดการสร้างพันธมิตรในการทำงานวิจัยร่วมกันในระยะยาว