BIOTEC

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

ไบโอเทคจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ต่อมาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปี พ.ศ. 2534 ไบโอเทคมีเป้าหมายหลักในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศให้เกิดผลทั้งในเชิงความเป็นเลิศทางวิชาการ (Excellence) และเป็นความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยทั้งในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาสังคมและชุมชน (Relevance) เพื่อให้เกิดผลกระทบสูง (Impact)

3 ทศวรรษ ของไบโอเทค

ทศวรรษที่หนึ่ง (พ.ศ.2526-2536)

เสริมสร้างให้เกิดระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านวิจัยเพื่อการสร้าง Research capability/capacity ของประเทศในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นความเชี่ยวชาญของแต่ละสถาบันที่มีความพร้อมระดับหนึ่ง/สร้างบุคคลากรวิจัยในเทคโนโลยีใหม่ๆ เฉพาะทาง พร้อมทั้งเสริมสร้างมหาวิทยาลัยที่เข้มแข็งอยู่แล้วระดับหนึ่งให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2537-2546)

ร่วมสร้างและพัมนากลไกการบริหารจัดการงานวิจัยให้พร้อมรองรับการขยายตัวและต่อยอดจากผลงานวิจัยและพัมนา ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพการศึกษาพัฒนาระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดตั้งสถาบันอาหาร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดตั้งโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันและบำบัดโรคเขตร้อน ริเริ่มกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งในระดับนานาชาติ

ทศวรรษที่สาม (พ.ศ.2547-2556)

เติบโตขยายผล สร้างเครือข่ายพันธมิตร ผลงานวิจัยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี นำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอด ขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ สร้างผลกระทบมูลค่าสูง เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ เน้นการทำงานกับประเทศเพื่อนบ้าน

ทศวรรษที่สาม (พ.ศ.2547-2556)

  1. ก่อตั้งไบโอเทค 20 กันยายน 2526

    BIOTEC
  2. รัฐบาลเริ่มสนับสนุนโครงการนักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2533 -2556ให้ทุนรวม 4,003 ทุน เป็นทุนสาขาชีวภาพ 1,350 ทุน โดยมีผู้รับทุน ตามความต้องการของไบโอเทค 167 คน ซึ่งสำเร็จการศึกษาและกลับมาปฏิบัติงานแล้ว 127 คน

    BIOTEC

    • หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช
    • หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านจุลินทรีย์
    • หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ
    • หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล

  3. เริ่มจัดตั้งและสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการวิจัยขึ้น 4 แห่ง ในสถาบันการศึกษาที่มีโครงสร้างพื้นฐาน/ศักยภาพระดับหนึ่งเพื่อเตรียมพร้อมการนำไปสู่ความเป็นเลิศในแต่ละสาขา

    BIOTEC

    • หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช
    • หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านจุลินทรีย์
    • หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ
    • หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล

  4. ประกาศใช้พระราชบัญญัติ / ไบโอเทคจัดตั้งหน่วยบริการชีวภาพ

    BIOTEC

    • ประกาศใช้พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 (จัดตั้ง สวทช.)

    • ไบโอเทคจัดตั้งหน่วยบริการชีวภาพเป็นหน่วยบริการแห่งแรกของประเทศไทยที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบสารชีวภาพด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

     

  5. เริ่มดำเนินงานวิจัยเอง / ค้นพบราแมลงชนิดใหม่

    BIOTEC

    • เริ่มดำเนินงานวิจัยเอง in-house research

    • ค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย 2 ชนิด

     
  6. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ DNA Fingerprint

    BIOTEC

    • จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ DNA Fingerprint ด้านพืชในปี 2543 ปรับเปลี่ยนเป็นห้องปฏิบัติการ DNA Technology (DNATEC) บริการตรวจสอบสายพันธุ์พืชและสัตว์

    • ถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ครั้งแรกให้กับบริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด เรื่อง“การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมโรคพืช” พัฒนาโดยนายจิระเดช แจ่มสว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากไบโอเทค

     
  7. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ-โยธี

    BIOTEC

    • จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ-โยธี
    • จัดตั้งห้องปฏิบัติการเก็บรวบรวมสายพันธุ์จุลินทรีย์ (BCC)
    • เริ่มโครงการ BRT ร่วมกับ สกว. ทำให้ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่และพัฒนาบุคลากรเพิ่มมากขึ้น
    • เริ่มโครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาชนบท และเกษตรกรรายย่อย
    • จัดตั้งสถาบันอาหาร ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม

     

  8. จัดเริ่มโครงการ T-2 ร่วมกับ สกว. วิจัย และThe Special Programfor Research and Training in Tropical Diseases (TDR/WHO)

    BIOTEC
  9. หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ-โยธี

    BIOTEC

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้างานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพของไทยและการดำเนินงานของไบโอเทค ณ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ-โยธี

  10. เข้าร่วมโครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ

    BIOTEC

    เข้าร่วมโครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ (เป็น 1 ใน 10 ประเทศ) ในการหาลำดับเบสจีโนมข้าว ซึ่งทำให้ได้แผนที่โครโมโซมและพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมาย นำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต่างๆ

  11. เริ่มโครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน

    BIOTEC
  12. ผลงานร่วมระหว่างไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    BIOTEC

    • เริ่มดำเนินงานวิจัยที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545

    • ผลงานวิจัยพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) เป็นครั้งแรก : มะละกอดัดแปลงพันธุกรรมต้านทานโรคใบด่างวงแหวน (ผลงานร่วมระหว่างไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

  13. จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง

    BIOTEC

    • จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง (ศวพก.)

    • ไบโอเทคได้รับมอบหมายในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ปี 2547-2554 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  14. ประกาศใช้กรอบนโยบาย

    BIOTEC

    ประกาศใช้กรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย (พ.ศ.2547-2552) ฉบับแรกของประเทศไทย

  15. เริ่มโครงการความร่วมมือ

    BIOTEC

    เริ่มโครงการความร่วมมือ BIOTEC-Novartis Drug Discovery Partnership

  16. สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนนํ้าท่วมฉับพลัน

    BIOTEC

    สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนนํ้าท่วมฉับพลัน ข้าวพันธุ์แรกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล

    Partnership

  17. ร่วมกับ มจธ. สนับสนุนการจัดตั้งโรงงานต้นแบบ

    BIOTEC

    • ร่วมกับ มจธ. สนับสนุนการจัดตั้งโรงงานต้นแบบ เพื่อผลิตชีววัตถุและสารมูลค่าสูงของประเทศ มาตรฐาน cGMP

    • ไบโอเทคได้รับสิทธิบัตรในต่างประเทศรายการแรกสิทธิบัตรยีนควบคุมความหอมในข้าวและการใช้ประโยชน์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกจากทั้งหมด 10 ประเทศที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร

  18. สวทช. ปรับโครงสร้างและบูรณาการการบริหารงานวิจัยไบโอเทค

    BIOTEC

    • สวทช. ปรับโครงสร้างและบูรณาการการบริหารงานวิจัยไบโอเทคปรับเปลี่ยนบทบาทและโครงสร้างองค์กรเป็นหน่วยวิจัยและสร้างความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีฐานเพื่อตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของประเทศ

    • ได้รับพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับข้าวไทย (24 มิถุนายน 2552)

  19. ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้

    BIOTEC

    • ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวว่า “ธัญสิริน”

    • พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ มีส่วนช่วยลดความเสียหายให้แก่เกษตรกร อ.ผักไห่ จากนํ้าท่วมฉับพลัน

    • เริ่มโครงการวิจัยร่วมกับ MMV ในการทดสอบยาต้านมาลาเรีย P218 ขั้นต้น ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ

  20. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนลูกผสม

    BIOTEC

    ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนลูกผสมเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ป้องกันไข้เลือดออกได้ครบทั้ง 4 ซีโรทัยป์ครั้งแรกของโลกและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

  21. การค้นพบโครงสร้างของเอนไซม์ dihydrofolate reductasethymidylate synthase

    BIOTEC

    นำไปสู่การพัฒนายาต้านมาลาเรีย P218 ตัวใหม่ ซึ่งจะเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของวงการวิจัยด้านมาลาเรียที่ค้นพบยารักษาโรคมาลาเรียซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศไทยโดยทีมนักวิจัยไทยเป็นครั้งแรก

  22. ข้าวพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์

    BIOTEC

    ข้าวพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกและได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว 2 สายพันธุ์ คือ ข้าว กข51 ทนนํ้าท่วมฉับพลัน และพันธุ์ข้าวเหนียว กข18

พันธกิจไบโอเทค

BIOTEC Mission

ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาสร้างความสามารถเทคโนโลยีฐานด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อนำความรู้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของประเทศ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยให้มีความพร้อมรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ และการพัฒนาบุคลากรวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ