ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัส
เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
ข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาวิจัยและรวบรวมองค์ความรู้พื้นฐานของไวรัสที่ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยทำการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ไวรัสเป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืชถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้ง การผลิต บริการวิชาการ และสารชีวภัณฑ์ เพื่อการศึกษาวิจัยและการควบคุมแมลงศัตรูพืช
การวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ไวรัสเป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช
การใช้ไวรัส เอ็น พี วี ควบคุมแมลงศัตรูพืช
ไวรัส เอ็น พี วี คืออะไร
เอ็น พี วี (NPV) ย่อมาจาก nuclear polyhedrosis virus เป็นไวรัสที่เกิดโรคกับแมลงชนิดหนึ่งจากหลายชนิดซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำลายแมลงศัตรูพืชได้สูงสุด เหมาะสมที่จะนำมาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด ไวรัส เอ็น พี วี ส่วนใหญ่พบว่าทำลายหนอนของผีเสื้อในอันดับ Lepidoptera ได้มากมาย ในประเทศไทยได้ทีการพัฒนาผลิตไวรัส เอ็น พี วี ของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ชนิด ได้แก่ เอ็น พี วีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสของหนอนเจาะสมอฝ้าย และไวรัส เอ็น พี วี ของหนอ กระทู้
ไวรัส เอ็น พี วี ทำลายแมลงอย่างไร
ไวรัส เอ็น พี วี จะทำให้แมลงเป็นโรคและตาย โดยการที่ตัวอ่อนของแมลงต้องกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืชอาหาร เมื่อไวรัสข้าสู่กระเพาะอาหารผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของแมลงที่มีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเชลล์กระเพาะอาหารลักษณะอาการโรคเริ่มต้นจากการที่หนอนจะลดการกินอาหารลง เมื่อไวรัสไปทำลายเชลล์กระเพาะอาหาร อนุภาคของไวรัสขยายพันธุ์ทวีจำนวนมากขึ้นแพร่กระจายเข้าสู่ภายในลำตัวของแมลง เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆของแมลง เช่น เม็ดเลือด ไขมัน กล้ามเนื้อ ลำตัว เป็นต้น เมื่อชลล์เหล่านี้ถูกทำลายการทำงานของอวัยวะต่างๆ จะเสียไป ทำให้หนอนตายในที่สุด
ลักษณะอาการของโรคไวรัส เอ็น พี วี
เมื่อหนอนกินไวรัส เอ็น พี วี เข้าไป 12 วัน ผนังลำตัวจากสีขียวสดจะมีสีซีดจางลงหนอนลดการกินอาหารการเคลื่อนไหวช้าลง จนไม่เคลื่อนที่ ระยะต่อมาผนังลำตัวจะมีสีขาวขุ่นหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและจะพยายามไต่ขึ้นสู่บริเวณส่วนยอดของต้นพืชมักตายในลักษณะห้อยหัวและส่วนท้องลงเป็นรูปตัว “วี”หัวกลับ เมื่อหนอนตายผนังลำตัวจะแตกง่ายและจะเปลี่ยนเป็นสีดำอย่างรวดเร็วของเหลวภายในซากหนอนตายเต็มไปด้วยผลึกของไวรัส
ข้อดีของการใช้ไวรัส เอ็น พี วี
1. มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช จึงปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ
และแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ
2. เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย
3. ใช้ร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอื่นๆ ได้โดยที่ประสิทธิภาพไม่ลดลง
4. แมลงศัตรูสร้างความต้านทานได้ช้ากว่าสารฆ่าแมลง
5. เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้อีกเป็นการประหยัดเงินค่าสารฆ่าแมลง
6. ผ่านการทดสอบแล้วว่า ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อมจึงไม่มีพิษตกค้างบนพืช
ข้อจำกัดของไวรัส เอ็น พี วี
1. ใช้เวลาฟักตัวก่อนที่หนอนจะแสดงอาการโรค และตาย โดยทั่วไปใช้เวลา 2-7 วัน
ขึ้นอยู่กับขนาดของหนอน และปริมาณเชื้อไวรัสที่กินเข้าไป
2. ต้องทำความเข้าใจและศึกษาวิธีการใช้อย่างถูกต้อง จึงจะสามารถนำไปใช้อย่างได้ผล
3. คงอยู่บนพืชได้ระยะเวลาสั้น เนื่องจากรังสีอุลตร้าไวโอเลตจากแสงแดด
1. พัฒนากระบวนการผลิตไวรัส เอ็น พี วี ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot scale) ของหนอนกระทู้หอม (SeNPV) และหนอนกระทู้ผัก (SlNPV) จนได้ต้นทุนที่เหมาะสมและส่งต่อภาคเอกชนต่อยอดเชิงพาณิชย์ช่วยเกษตรกรที่ประสบปัญหาการระบาด และการดื้อต่อสารเคมีของแมลงดังกล่าว
2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไวรัส เอ็น พี วี แก่ภาคเอกชน 2 บริษัท และสนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายจนสำเร็จ
3. ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตรกร เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไวรัส เอ็น พี วี และส่งเสริมการใช้แก่เกษตรกรที่ประสบปัญหาทั่วประเทศ
4. ร่วมมือกับ บริษัท อริสต้า ไลฟ์ซายน์ (ญี่ปุ่น) จำกัด ศึกษาวิจัยเชื้อการใช้ไวรัส จี วี ควบคุมหนอนม้วนใบชาในประเทศไทย
5. ร่วมมือกับ World Vegetable Center ศึกษาวิจัยการใช้ไวรัส เอ็น พี วี ควบคุมหนอนเจาะฝักถั่ว (Maruca Vitrata)
6. สนับสนุนแมลงเพื่อการวิจัย แก่นักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
ผลิตภัณฑ์ ไวรัส เอ็น พี วี
เชื้อไวรัส เอ็น พี วี หนอนกระทู้หอม
เชื้อไวรัส เอ็น พี วี หนอนกระทู้ผัก
เชื้อไวรัส เอ็น พี วี หนอนเจาะสมอฝ้าย
นักวิชาการอาวุโส (หัวหน้าทีมวิจัย)
ผู้เชี่ยวชาญ
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ไบร์ทออแกนิค จำกัด
114/146 หมู่ที่ 10 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย นนทบุรี 11130
โทร. 064 5363549
บริษัท บีไบโอ จำกัด
106/8 หมู่ที่ 13 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 081 8061268
ติดต่อ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
เบอร์โทรศัพท์ 02-564-6700ต่อ3781-3