ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง
ข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้งมุ่งมั่นดำเนินงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการผลิตกุ้งและปลาคุณภาพสูง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิตกุ้งและปลาปลอดโรคที่มีสุขภาพดี โตเร็ว ต้านทานโรค มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีการเพาะเลี้ยงในระบบที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างองค์ความรู้ทางอณูชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับกุ้งและปลา และนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยง โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานดังนี้
– ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับกุ้งและปลา ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และทั้งหน่วยงานภายในประเทศและนานาชาติ
– ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแห่งชาติและระดับภูมิภาคในการทำงานวิจัยและฝึกอบรมทางด้านอณูชีววิทยาและ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งและปลา
– ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งและปลาของไทย เพื่อให้งานวิจัยมิใช่เป็นประโยชน์เพื่อการเรียนรู้เท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งและปลาของไทยได้ด้วย
(ในนามของหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ภายใต้การจัดการโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
– Nested PCR สำหรับเชื้อก่อโรคที่มีสารพันธุกรรมแบบ DNA (HPV, MBV, WSSV, NHPB, KHV, EHP, and AHPND)
– Reverese transcription PCR สำหรับเชื้อก่อโรคที่มีสารพันธุกรรมแบบ DNA (MrNV, XSV, YHV, IMNV, LSNV, PvNV, and CMNV)
– Quantitative Real time PCR (qPCR)
– Histophatology
– In situ hybridization สำหรับการตรวจเชื้อก่อโรค
– บริการให้คำปรึกษา
– บริการดูแลโครงการวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา
– สถานฝึกปฏิบัติงาน
– บริการจัดการอบรมที่เกี่ยวข้อง
– การระบุและศึกษาลักษณะของโรคและเชื้อก่อโรค
– การเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ในกุ้งและปลา
– การพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อก่อโรคในกุ้งและปลา
– การพัฒนาวิธีตรวจเชื้อก่อโรคในกุ้งและปลา
– ปรับปรุงสายพันธุ์ของแบคทีเรียโปรไบโอติกส์เพื่อใช้ในการผลิต dsRNA ทดแทนการใช้ E. coli และการประยุกต์ใช้ในการต้านเชื้อก่อโรคในกุ้ง
– การใช้สาหร่ายเซลล์เดียวในการผลิต dsRNA และสารชีวโมเลกุลอื่นๆที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ และทดสอบประสิทธิภาพในการต้านโรค
– เทคนิค In situ แลมป์สำหรับการชันสูตรยืนยันโรคอื่นๆในกุ้งและปลาเพื่อให้การควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ
– องค์ความรู้เกี่ยวข้องกับการเกิดการติดเชื้อไวรัสแบบเรื้อรังโดยการใช้เซลล์ยุงเป็นแบบจำลองในการศึกษา
– องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้เซลล์แมลงในการศึกษาเชื้อ Microsporidian ในกุ้ง
– โปรไบโอติกส์ ต้านแบคทีเรียและไวรัสที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคระบาดกุ้ง
– การศึกษาสารสกัดที่ยับยั้งการสร้าง biofilms ของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในกุ้ง
– การควบคุมโรคแบคทีเรียในกุ้งและปลา โดยใช้สารทางเลือกซึ่งไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ เช่น สารยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์ม การส่งสัญญาณ quorum sensing หรือวัคซีน
– การศึกษาประชากรจุลชีพในบ่อเลี้ยงและทางเดินอาหารของปลาและกุ้ง และบทบาทของประชากรจุลชีพต่อการต้านทานโรค
นักวิจัยอาวุโส (หัวหน้าทีมวิจัย)
นักวิจัยอาวุโส
นักวิจัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 02-564-6700