BIOTEC

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์

ข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัย

เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันได้มีการนำเอนไซม์จาก สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ โดยเฉพาะจุลินทรีย์มาใช้ในประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงทางด้านการแพทย์ และการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เพื่อการเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการผลิตโดยตรง หรือเพื่อปรับใช้ในกระบวนการผลิตที่มีอยู่เพื่อลดการใช้สารเคมีและพลังงานเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้เสริมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติและมูลค่าทางการตลาด โดยมีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหลักหลายประเภท เช่น อาหารคน อาหารสัตว์ พลังงาน สิ่งทอ การแปรรูปแป้ง รวมถึงการผลิตเครื่องอุปโภคต่างๆ ด้วยความสำคัญของเอนไซม์ต่ออุตสาหกรรมของประเทศในปัจจุบันห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์มีเป้าหมาย งานวิจัยในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ในประเทศ เพื่อใช้เป็นแหล่งเอนไซม์ที่มีศักยภาพทางอุตสาหกรรม โดยมีหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาทั้งทางด้านการสร้างเทคโนโลยีฐานสําหรับการค้นหาและผลิตเอนไซม์จากแหล่งจุลินทรีย์ในประเทศทั้งจากธนาคารจุลินทรีย์ไบโอเทคและโดยใช้เทคโนโลยีเมตาจีโนมิกส์ในการค้นหายีนที่กําหนดการสร้างไซม์ ที่สนใจโดยตรงจากจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงไม่ได้ใน สิ่งแวดล้อม รวมถึงการประยุกต์ใช้เอนไซม์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีการสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน ในรูปแบบของการร่วมวิจัยและการรับจ้างวิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเอนไซม์และอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพภายในประเทศ

งานวิจัยเป้าหมาย
การพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green process)

   

ปัจจุบันมีความสนใจในการนำเอนไซม์ไปใช้ร่วมกับกระบวนการผลิตแบบปกติ เพื่อเป็นการลดปริมาณการใช้สารเคมีหรือพลังงานในกระบวนการผลิต รวมถึงลดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเช่น การพัฒนาเอนไซม์ ENZBleach ซึ่งเป็นเอนไซม์ไซแลเนสทนด่างจากเมตาจีโนมของกลุ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ปลวกซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณคลอรีน ที่ใช้ในกระบวนการฟอกเยื่อ โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบการผลิตแบบ high cell density fermentation ในระดับก่อนนำร่อง และการพัฒนาเอนไซม์สำหรับการลอกแป้ง และการขจัดสิ่งสกปรกในขั้นตอนเดียว ENZease ร่วมกับบริษัท ธนไพศาล ซึ่งเป็นผู้ผลิตสิ่งทอและบริษัทผู้ผลิตเอนไซม์ ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนในการผลิตและเป็นการพัฒนากระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

อุตสาหกรรมพลังงานและการแปรสภาพชีวมวล (Biorefinery)

ปัจจุบันมีความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากในการผลิตพลังงานชีวภาพเช่นไบโอเอทานอล รวมถึงสารเคมีต่างๆ จากวัตถุดิบทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งประเภทลิกโนเซลลูโลสซึ่งมีศักยภาพในประเทศเช่น ชานอ้อย ฟางข้าวและกากมันสำปะหลัง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวต้องอาศัยเอนไซม์ในกลุ่มเซลลูเลสและเฮมิเซลลูเลสในการย่อยสลายโพลีแซคคาไรด์ให้เป็นน้ำตาล เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการหมักเพื่อผลิตเอธานอล หรือสารเพิ่มมูลค่าอื่นๆ ปัจจุบันห้องปฏิบัติการได้มีการวิจัยและพัฒนามัลติเอนไซม์จากราที่พบภายในประเทศ ซึ่งมีกิจกรรมของเอนไซม์ที่หลากหลายรวมถึงเอนไซม์ที่ใช้ในการลดความหนืดของวัตถุดิบมันสำปะหลัง ในกระบวนการหมักแบบความเข้มข้นสูงเพื่อผลิตเอทานอลซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการศึกษาในระดับโรงงานต้นแบบ และระบบเอนไซม์เซลลูเลสในการย่อยชีวมวลการเกษตรประเภทลิกโนเซลลูโลสเป็นน้ำตาลเพื่อการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ โดยเน้นการศึกษาการทำงานเสริมกันของเอนไซม์ ชนิดใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเอนไซม์เซลลูเลสในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ The Joint Graduate School of Energy and Environment (JGSEE) ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและสารเพิ่มมูลค่าชนิดต่างๆ ภายใต้แนวคิดในการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับกระบวนการทางวิศวกรรมเคมีโดยมีงานวิจัยร่วมกับอุตสาหกรรมต่างๆ

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์

การใช้เอนไซม์ในอาหารสัตว์เป็นตลาดเอนไซม์ภายในประเทศที่มีสัดส่วนสูง โดยในปัจจุบันมีการใช้เอนไซม์ย่อยโพลีแซคคาไรด์ในกลุ่มเซลลูเลส ไซลาเนสและแมนนาเนสเพื่อผสมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยองค์ประกอบที่เป็นเส้นใย รวมถึงการใช้เอนไซม์ไฟเตสในการเพิ่มการปลดปล่อยฟอสเฟตในอาหารสัตว์ ซึ่งส่งผลในการเพิ่มอัตราการดูดซึมสารอาหารและเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ ห้องปฏิบัติการได้มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเอนไซม์ร่วมกับภาคเอกชนหลายแห่ง
ในการผลิตเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในธนาคารจุลินทรีย์ไบโอเทค และพัฒนากระบวนการผลิตทั้งโดยการใช้ราสายพันธุ์ธรรมชาติโดยกระบวนการหมักแบบ Submerged หรือ Solid-state
และการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการผลิตเอนไซม์เป้าหมายในแบคทีเรียหรือยีสต์เพื่อนำไปสู่การผลิตในระดับถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 10-200 ลิตร เพื่อให้ได้เอนไซม์ในปริมาณที่เพียงพอในการทดสอบผล ในระดับฟาร์ม ในปัจจุบันห้องปฏิบัติการได้มีการพัฒนาเอนไซม์เชิงเดี่ยวและเอนไซม์ผสมซึ่งมีกิจกรรมของเอนไซม์ในกลุ่มย่อยโพลีแซคคาไรด์หลายชนิดจากสายพันธุ์ราธรรมชาติชนิดต่างๆ และพัฒนาสู่ระดับการทดสอบภาคสนาม โดยขณะนี้มีเอนไซม์หลายชนิดที่พัฒนาขึ้นอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเชิงการค้าร่วมกับภาคเอกชน นอกเหนือจากนั้นยังมีการพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ในการผลิตอาหารสัตว์โปรตีนสูง ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาการผลิตในระดับโรงานต้นแบบ

การค้นหาเอนไซม์

ในปัจจุบันทางห้องปฏิบัติการได้สร้างความสามารถทางเทคโนโลยีในการคัดกรองและค้นหาเอนไซม์ในกลุ่มต่างๆแบบประสิทธิภาพสูงและรวดเร็ว (high-throughput screening and identification)จากแหล่งทรัพยากรจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงได้ในห้องปฏิบัติการ (cultured microorganisms)จากสายพันธุ์จุลินทรีย์ใน TBRC/Biobank และเมตาจีโนมซึ่งเป็นตัวแทนของจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงไม่ได้ในห้องปฏิบัติการ (uncultured microorganisms)โดยงานวิจัยจะประกอบด้วยการพัฒนาวืธีการทดสอบและค้นหาเอนไซม์ในระดับไมโครสเกลโดยใช้ระบบ HTP microbial platform โดยมีเป้าหมายเป็นเอนไซม์ที่สามารถใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลักกลุ่มต่างๆของประเทศ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดเฉพาะเช่นในอุตสาหกรรมอาหาร เคมีชีวภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Eco-product ซึ่งต่อยอดจากกระบวนการผลิตเดิม รวมถึงเอนไซม์ชนิดใหม่ที่มีความน่าสนใจในเชิงเทคโนโลยีชีวภาพ เอนไซม์ที่มีศักยภาพจะได้รับการศึกษาเชิงลึกในด้านคุณสมบัติทางชีวเคมีเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ตัวแทนของเอนไซม์ต้นแบบที่สามารถนำไปพัฒนาต่อไปผ่านขั้นตอนวิศวกรรมเอนไซม์และการพัฒนาชีวกระบวนการ

ผลงานเด่น ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์

เอนอีช (ENZease): เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวันสำหรับกระบวนการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์

004264

ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ

นักวิจัยอาวุโส (หัวหน้าทีมวิจัย)

003089

เกตุวดี บุญญาภากร

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

003090

วราศิรินทร์ สอนเล็ก

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

004579

วุฒิชัย เหมือนทอง

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

004601

อภิสิทธิ์ พูนศรีสวัสดิ์

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

004604

จันทิมา อานทอง

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

004804

พชรมน โนมูระ

ผู้ช่วยวิจัย

004861

พิษณุ ปิ่นมณี

ผู้ช่วยวิจัย

005655

ปวีณา ทองเกร็ด

ผู้ช่วยวิจัย

006138

ปิยดา บุสดี

ผู้ช่วยวิจัย

920087

กนก วงศ์รัฐปัญญา

นักวิจัยหลังปริญญาเอก

803361

ประภาพรรณ หลาซิน

นักวิจัยหลังปริญญาเอก

801745

ปณิดา อู่ไทย

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

801778

กฤษณ์ เค้าอ้น

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

801793

ธัญชนก ปรีชากุล

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

801941

กนกนาฏ ปราบมาก

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

801956

วิภาวี ศรีทัศนีย์

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

801962

สุรนันท์ อยู่ลอง

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

802752

กัญจน์ ตุลสุข

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

802753

สง่าพงศ์ พลับจีน

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

802782

กนกอร คงเจริญ

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

803401

ปิยวดี ประสงค์แสนสุข

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

803510

รัฐพงษ์ มีทรัพย์ทอง

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

803662

สุธาทิพย์ เพชรล้ำ

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

804001

พงษ์พิพัฒน์ ใจห้าว

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

920084

เกดสุดา เอี้ยววิริยะสกุล

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

920088

พิชญาภา นิรมล

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

800911

นพรัตน์ สุริยะไชย

นักวิจัยร่วมวิจัย

user-2935527_640

หทัยกาญจน์ เลกากาญจน์

นักวิจัยร่วมวิจัย

user-2935527_640

ดารัณ โปร่งจิต

นักศึกษาร่วมงาน

user-2935527_640

Mya Thandar khin

นักศึกษาร่วมงาน

user-2935527_640

Agung Wibowo

นักศึกษาร่วมงาน

user-2935527_640

ภาวรินทร์ บลทอง

นักศึกษาร่วมงาน

user-2935527_640

วุฒิพงษ์ พลมะณี

นักศึกษาร่วมงาน

user-2935527_640

สุชาติ พงษ์ชัยผล

นักศึกษาร่วมงาน

ข้อมูลการติดต่อ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยี ไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 02-564-6700 ต่อ 3464