ทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร
ข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัย
ทีมไมโครอะเรย์แบบครบวงจรมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพทางเทคโนโลยีพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยีไมโครอะเรย์และเทคนิค high-throughput ต่างๆ เป็นเครื่องมือเพื่่อตอบโจทย์วิจัยและพัฒนาที่สนอง นโยบายของชาติและประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
โดยงานวิจัยที่สําคัญของห้องปฏิบัติการแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. ด้านแอนติบอดี้ไมโครอะเรย์ (Antibody microarray)
2. ด้านดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ (DNA microarray)
3. ด้านเทคโนโลยี High-throughput อื่นๆ เช่น metabolomics, bead array, และ microfluidics
สถานภาพปัจจุบัน
1. ด้านแอนติบอดี้ไมโครอะเรย์ (Antibody microarray)
กลุ่มวิจัยนี้มุ่งเน้นการนําเทคโนโลยีไมโครอะเรย์มาประยุกต์ใช้ในการตรวจหาสารทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพสูง ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาเอาแอนติบอดี้ อะเรย์ไปตรวจเชื้อก่อโรคในอาหารและเชื้อก่อโรคในพืชทีละหลายๆชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งสามารถทําให้ชุดตรวจมีราคาถูกลงและรวดเร็วขึ้นนอกจากนี้แล้วกลุ่มวิจัยนี้ยังนําหลักการแอนติบอดี้ อะเรย์มาประยุกต์ใช้ในการค้นหาเซลล์ไฮบริโดมาที่ผลิตแอนติบอดี้ที่จําเพาะต่อเป้าหมายที่ต้องการได้อีกด้วย ซึ่งช่วยให้การคัดเลือกเซลล์ไฮบริโดมารวดเร็วและสะดวกมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้กลุ่มวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้
2. ด้านดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ (DNA microarray)
กลุ่มวิจัยนี้มุ่งเน้นการนําเทคโนโลยีดีเอ็นเอไมโครอะเรย์มาศึกษาชีววิทยาของสิ่งงมีชีวิตที่สําคัญกับประเทศไทย โดยใช้กุ้งกุลาดําเป็นตัวแบบในการศึกษาและพัฒนาศักยภาพในการผลิตดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ และการนําไปใช้จริง ทั้งนี้หัวข้อวิจัยที่ได้มุ่งเน้นคือ การเข้าใจระบบสืบพันธุ์ของกุ้งกุลาดําเพื่อช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งที่สําคัญต่อเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้กลุ่มวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทีมวิจัยอณูพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำ ทีมวิจัยและพัฒนาบริการด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งนอกจากนี้แล้วยังได้นําเทคโนโลยีไมโครอะเรย์ไปเป็นชุดตรวจเชื้อแบคทีเรียในอาหารหมักเพื่อประหยัดเวลาในการจําแนกเชื้อเพื่อที่จะหาว่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มไหนมีปนเปื้อนในอาหารระหว่างกระบวนการหมักนั้น ทั้งนี้กลุ่มวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร ซึ่งปัจจุบันกลุ่มวิจัยนี้ได้ต่อยอดการศึกษากลุ่มแบคทีเรียไปในลําไส้กุ้งเพื่อค้นหาแบคทีเรียที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันโรคในกับกุ้ง และได้นําเทคโนโลยี next-generation sequencing มาช่วยในการสร้างฐานข้อมูลประชากรแบคทีเรียที่พบในลำไส้กุ้งสำหรับการนำไปสร้างชุดตรวจแบบ
high-throughput ในอนาคต
3. ด้านเทคโนโลยี High-throughput อื่นๆ เช่น metabolomics, bead array, และ microfluidics
กลุ่มวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี high-throughput ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์งานให้มีประสิทธิภาพดี ขึ้น อาทิ
3.1 เทคนิค liquid chromatography high resolution mass spectrometry (LC-HR/MS) และเทคนิค ultra-performance liquid chromatography-electrospray ionization-high resolution tandem mass spectrometry (UPLC-ESI-HRMS/MS)
มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการค้นหาสารออกฤทธิ์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เช่น ที่มีความไวสูง
3.2 การใช้ bead array มาเป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร และเชื้อก่อโรคในพืชซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้
3.3 การใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปแผ่นเส้นใยขนาดนาโน ด้วยวิธีการปั่นเส้นใยด้วยกระแสไฟฟ้าแรงสูง (Electrospinning) มาประยุกต์ใช้ในการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางชีวภาพ
การพัฒนาศักยภาพของเทคนิคไมโครอะเรย์และการหาเทคโนโลยีทางเลือกอื่น
การศึกษากลุ่มจุลินทรีย์ในลําไส้กุ้งโดยใช้เทคนิค pyrosequencing
การศึกษาระบบสืบพันธุ์กุ้งโดยการใช้อาหารเป็นตัวกระตุ้น
นักวิจัย (หัวหน้าทีมวิจัย)
นักวิจัยอาวุโส
นักวิจัย
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
นักศึกษาร่วมงาน
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย
ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย
นักวิจัยร่วมวิจัย
นักศึกษาร่วมงาน
ทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 02-564-6700 ต่อ 3255
แฟ็กซ์: 02-564-6707