BIOTEC

ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด

ข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัย

มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการตรวจวัดทางชีวภาพในโรคที่มีผลกระทบทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ การเกษตร อาหารและการแพทย์ โดยมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคนิคแลมป์ (Loop-mediated isothermal amplification, LAMP) ที่มีความไวและมีความจำเพาะต่อเชื้อเป้าหมายสูงมีขั้นตอนการทดสอบที่ไม่ซับซ้อนจึงทำให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วร่วมกับการอ่านผลที่ง่ายสะดวกและใช้เครื่องมือที่ราคาไม่แพง ได้แก่

1) เทคนิคแลมป์ร่วมกับการใช้แผ่นจุ่มวัดแบบง่าย (lateral flow dipstick)
2) การใช้เทคนิคแลมป์ร่วมกับเครื่องวัดความขุ่น ซึ่งสามารถติดตามผลแบบ real-time ทำให้สามารถตรวจวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
3) เทคนิคแลมป์ร่วมกับการใช้ตัวตรวจจับดีเอ็นเอที่ติดฉลากด้วยอนุภาคทองคำนาโน
4) เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีแบบง่ายในขั้นตอนเดียว
5) การใช้เทคนิคทางไบโอเซ็นเซอร์ (biosensor) ต่าง ๆ เช่นเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า (electrochemical) โดยใช้อิเล็กโทรดกราฟีน (graphene) แบบพิมพ์ได้ เป็นต้น

เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงในระดับห้องปฏิบัติการและระดับภาคสนาม
และพัฒนาชุดน้ำยาสำเร็จรูปที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ ทั้งนี้เพื่อขยายผลเชิงพาณิชย์และลดการนำเข้าชุดทดสอบจากต่างประเทศ

งานวิจัยและพัฒนาในปัจจุบัน

1. งานวิจัยด้านการแพทย์
มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคที่สำคัญต่อประเทศไทยเพื่อยกระดับงานวิจัยพื้นฐานไปสู่งานวิจัยเชิงประยุกต์ในการตรวจวินิจฉัยที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์โดยทีมวิจัยได้นำเทคโนโลยีแลมป์ร่วมกับการใช้แผ่นจุ่มวัดแบบง่าย หรือ การเปลี่ยนสีแบบง่ายในขั้นตอนเดียว รวมทั้งการใช้เทคนิคทางเคมีไฟฟ้า ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยวัณโรค เชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน เชื้อมาลาเรีย รวมทั้งการพัฒนาเทคนิค Real-time LAMP โดยใช้เครื่องวัดความขุ่นในการตรวจวัดระดับ mRNA ของยีน IP-10
เครื่องหมายชีวภาพของโรคไตอักเสบลูปัสในปัสสาวะ โดยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคที่พัฒนาขึ้นจะถูกนำไปถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์จริง ทั้งในระดับโรงพยาบาล จนถึงศูนย์อนามัยในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทยที่ดีขึ้น

2. งานวิจัยด้านอุตสาหกรรมการเกษตร มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจเชื้อโรคที่ก่อความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ และการเลี้ยงปศุสัตว์

ชุดตรวจโรคกุ้งและปลา
ทีมวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาชุดตรวจเชื้อก่อโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งด้วยเทคนิคแลมป์ร่วมกับการใช้ ตัวตรวจจับดีเอ็นเอที่ติดฉลากด้วยอนุภาคทองคำนาโน เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีแบบง่ายในขั้นตอนเดียวและการใช้เครื่องวัดความขุ่นเพื่อการตรวจเชื้อไมโครสปอริเดีย EHP เชื้อแบคทีเรียก่อโรคตับตายเฉียบพลัน AHPND เชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว ไวรัสหัวเหลือง ไวรัสไอเอ็ชเอ็ชเอ็นวี ไวรัส MrNV เป็นต้น ผลของการใช้ชุดตรวจจะทำให้ได้พ่อแม่พันธุ์กุ้ง และลูกกุ้งที่มีคุณภาพ ปลอดโรค นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้พัฒนาเทคนิคแลมป์ร่วมกับการใช้ตัวตรวจจับดีเอ็นเอที่ติดฉลากด้วยอนุภาคทองคำนาโนและเทคนิค แลมป์เปลี่ยนสีแบบง่ายในขั้นตอนเดียวในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae แบคทีเรีย S. iniae ไวรัส Tilapia lake virus (TiLV) และ Scale drop disease virus (SDDV) ที่ก่อโรคต่างๆในปลานิล ปลานิลแดง และปลากะพง

ชุดตรวจโรคพืช
มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นมะเขือเทศและพริก โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสในกลุ่ม Tobamovirus ด้วยเทคนิคแลมป์ร่วมกับการใช้ตัวตรวจจับดีเอ็นเอที่ติดฉลากด้วยอนุภาคทองคำนาโน และการพัฒนาชุดตรวจเชื้อไฟโตพลาสมาที่เป็นสาเหตุโรคใบขาวของอ้อยด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

ชุดตรวจโรคสุกร
ทีมวิจัยยังได้ทำการพัฒนาเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวเพื่อการตรวจหาเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกา (ASF)และเชื้อไวรัสก่อโรคท้องร่วงรุนแรง (PED) ในสุกร

3. งานวิจัยด้านอุตสาหกรรมการอาหาร มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยทางอาหาร โดยใช้เทคนิคแลมป์ร่วมกับแผ่นจุ่มวัดแบบง่าย และการใช้เทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์ ได้แก่ เทคนิคเคมีไฟฟ้าโดยใช้แผ่นกราฟีนอิเล็กโทรดพิมพ์ได้ร่วมกับเครื่อง minipotentiostat ขนาดพกพา เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร เช่น เชื้อ Vibrio cholerae เชื้อ V.parahaemolyticus เชื้อ E. coli สายพันธุ์ 0157:H7และ เชื้อ Salmonella เป็นต้น

ผลงานเด่น ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด

 

ผลงานวิจัย

  • ชุดตรวจเชื้อก่อโรคในกุ้งด้วยเทคนิคแลมป์
  • ชุดตรวจเชื้อก่อโรคในปลานิล ปลานิลแดง ปลากะพง ด้วยเทคนิคแลมป์


ผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

– Point-of-Care Rapid Detection of Vibrio parahaemolyticus in Seafood using Loop- Mediated Isothermal Amplification and Graphene-based Screen-Printed Electrochemical Sensor. Biosensors and Bioelectronics. IF (2018/2019) 9.518

 

– Sensitive Visual Detection of AHPND Bacteria Using Loop-Mediated Isothermal Amplification Combined with DNA-Functionalized Gold Nanoparticles as Probes. PLoS One; 11(3):e0151769. IF (2016) 2.806

 

– Demonstration of a very inexpensive, turbidimetric, real-time, LAMP RT-PCR detection platform using shrimp Laem-Singh virus (LSNV) as a model. PlosOne 9: e108047. IF (2014) 3.234

 

– Colorimetric detection of scale drop disease virus in Asian sea bass using loop- mediated isothermal amplification with xylenol orange. Aquaculture. IF (2018 / 2019) 1.81

 

– Double-Loop-Mediated Isothermal Amplification (D-LAMP) using colourimetric gold nanoparticle probe for rapid detection of infectious Penaeus stylirostris densovirus (PstDNV) with reduced false-positive results from endogenous viral elements Aquaculture IF (2018 / 2019) 1.81

 

รางวัลผลงานวิจัยที่สำคัญ

– รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก ประจำปี 2560 เรื่อง “Amp- Gold” ชุดตรวจเชื้อก่อโรคตับตายเฉียบพลันสาเหตุหนึ่งของโรคกุ้งอีเอ็มเอส

 

– รางวัล Platinum Award จากงานประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติจากประเทศไต้หวัน 13 th Taipei International Invention show & Technomart (INST 2017) จากผลงาน VIP-Safe Plus: LAMP Electrochemical Sensor for Detection of Foodborne pathogen

 

– รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2562 ประเภทผลงานวิจัยระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เรื่องการพบชิ้นส่วนสารพันธุกรรมไวรัส IHHNV Infectious Hypodermal and Hematopoietic Necrosis Virus แทรกในจีโนมของกุ้งกุลาดำในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาชุดตรวจไวรัสกุ้งไอเอชเอชเอ็นที่มีความถูกต้องและรวดเร็ว

 

– รางวัล Gold medal and Special prize จากการเข้าร่วมประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ในงาน The 44th International Exhibition of Geneva ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2559 จากผลงาน ARDA AflaSensor Plus

 

– รางวัลชนะเลิศ DMSC Award กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2559 ประเภทการพัฒนาคุณภาพการบริการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องกรรมวิธีการตรวจหาและจำแนกเชื้อมาลาเรียในตัวอย่างเลือดด้วยเทคนิคแลมป์ร่วมกับเทคนิคแอ ลเอฟดี

– รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2556 ประเภทผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องการพัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคชนิดมัยโคแบทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส ด้วยดีเอ็นเอเซ็นเซอร์

ผลงานเด่น

เทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) คือ เทคนิคที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมทั้ง DNA และ RNA  ได้ถึง 109 เท่า ที่อุณหภูมิในช่วง 60-65 องศาเซลเซียส ภายในเวลา 1 ชั่วโมง เทคนิคแลมป์เป็นเทคนิคตรวจหาสารพันธุกรรมของตัวเชื้อ เช่นเดียวกับ เทคนิค PCR และ Realtime-PCR (RT-PCR) โดย LAMP มีความไวในการตรวจวัด (sensitivity) สูงกว่า PCR และอาจเทียบเท่า RT-PCR และเนื่องจาก LAMP มีความจำเพาะ (specificity) กับตัวเชื้อสูง มีขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย และใช้เครื่องมือราคาไม่แพง  เทคนิค LAMP จึงถูกนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการตรวจหาเชื้อในผู้ป่วย หรือผู้ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอย่างต่อเนื่อง

ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด ไบโอเทค สวทช. ได้พัฒนา ชุดตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรค COVID-19 โดยใช้เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีแบบง่ายในขั้นตอนเดียว (colorimetric LAMP-XO) ให้ผลการทดสอบภายใน 1 ชั่วโมง สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ โดยหากสีของสารละลายเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลืองแสดงว่ามีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แต่หากสียังคงเป็นสีม่วงแสดงว่าไม่มีการติดเชื้อ ปัจจุบันชุดตรวจนี้อยู่ในขั้นตอนของการทดสอบกับตัวอย่างจากผู้ป่วยในจำนวนที่มากขึ้น ร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคาดว่าจะพร้อมหารือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อการขยายผล ในเดือนมิถุนายน 2563

 
 

ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย

นักวิจัยอาวุโส (หัวหน้าทีมวิจัย)

ระพีพัฒน์ สุวรรณกาศ

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

ณรงค์ อรัญรุตม์

ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส

จันทนา คำภีระ

ผู้ช่วยวิจัย

สุกัญญา เพ็งพานิช

นักวิจัยหลังปริญญาเอก

ศิรินทิพย์ แดงติ๊บ

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค

เบญญทิพย์ ตนดี

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

ศราวุฒิ ศิริธรรมจักร

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

ข้อมูลการติดต่อ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 02-564-6700