โครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-NAGA Belt Road) ตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในสาขาเกษตร ดำเนินการร่วมกันระหว่าง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่มูลค่า นำร่องในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง เชียงราย อุดรธานี และนครพนม ล่าสุด อาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง นำ 4 ผลงานวิจัย BCG-NAGA Belt Road from Local to Global ผลิตภัณฑ์ชุมชน จากกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สร้างนวัตกรรมข้าวเหนียวไทยสู่เวทีโลก คว้า 13 รางวัลจากการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมระดับนาชาติ EUROINVENT (European Exhibition of Creativity and Innovation) เมื่อวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ เมืองยาช ประเทศโรมาเนีย
ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษกิจ BCG สาขาเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อ 11 – 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ตัวแทนผู้ขับเคลื่อนโครงการ BCG-NAGA Belt Road นำโดย ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และนายมาโนช คุ้มพนาลัยสถิต นักวิจัยจากหน่วยวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย นำผลงานนวัตกรรมข้าวเหนียวภายใต้โครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-NAGA Belt Road) เข้าร่วมงานประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ระดับนานาชาติ EUROINVENT 2023 (15th European Exhibition of Creativity and Innovation) ณ เมืองยาช ประเทศโรมาเนีย ซึ่งงานดังกล่าวมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์มากกว่า 600 ผลงาน จาก 40 ประเทศ ผลปรากฏว่า ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 13 รางวัล จาก 3 ผลงานวิจัย ดังนี้
1. ผลงาน Black Rice Pearls Rice Power for Gastronomy Recipes (แป้งไข่มุกข้าวก่ำ) ได้รับ 5 รางวัล
1) รางวัล GOLD MEDAL จากเวทีการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในเวทีนานาชาติ EUROINVENT
2) รางวัล Special Award จาก STOWARZYSZENIA PROMOCJI POLSKIEJ NAUKI, TECHNIKII INNOWACJI
3) รางวัล Special Award จาก UNIVERSITATEA POLITEHNICA TIMISOARA
4) รางวัล GOLD MEDAL จาก UNIVERSITY POLITEHNICA OF BUCHAREST
5) รางวัล Excellence Award จาก GRIGORE T.POPA UNIVERSITY OF MEDICINE AND PHARMACY IASI
2. ผลงาน Green rice powder (แป้งข้าวเม่าสำเร็จรูป) ได้รับ 4 รางวัล
1) รางวัล GOLD MEDAL จากเวทีการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในเวทีนานาชาติ EUROINVENT
2) รางวัล Award a Special Prize จาก “LUCIAN BLAGA” UNIVERSITY OF SIBIU
3) รางวัล Excellence Award and GOLD MEDAL จาก THE NATIONAL INSTITUTE FOR RESEARCH & DEVELOPMENT IN CHEMISTRY AND PETROCHEMISTRY-ICECHIM BUCHAREST
4) รางวัล Excellence Award จาก GRIGORE T.POPA UNIVERSITY OF MEDICINE AND PHARMAC YIASI
3. ผลงาน Healthy and Eco -friendly Cricket Burger (เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวข้าวกล้องจิ้งหรีด) ได้รับ 4 รางวัล
1) รางวัล SILVER MEDAL จากเวทีการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในเวทีนานาชาติ EUROINVENT
2) รางวัล SPECIAL AWARD จาก TORONTO INTERNATIONAL SOCIETY OF INNOVATION AND ADVANCED SKILLS (TISIAS) CANADA
3) รางวัล The Excellence Invention จาก ASSOCIATION OF EROPEAN INVENTORS
4) รางวัล Excellence Award จาก GRIGORE T.POPA UNIVERSITY OF MEDICINE AND PHARMACY IASI