งานสัมมนาสร้างความมั่นคงทางอาหาร : การพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา (mycotoxin) ที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่อาหาร


เมื่อวันที่ 12-13 กันยายน 2566  ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านความมั่นคงทางอาหาร (International Joint Research Center on Food Security หรือ IJC-FOODSEC) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัย Queen’s University Belfast สหราชอาณาจักร จัดการอบรมเรื่อง “Developing decision support tool(s) for mitigating mycotoxins risks caused by climate change” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Global Challenges Research Fund Networking Grants หรือ GCEF โดยมี  ดร. วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค  และ Prof. Christopher Elliott Professor of Food Safety and Microbiology,Queen’s University Belfast, United Kingdom เป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรม ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นภัยคุกคามต่อความยั่งยืนของการผลิตอาหาร หนึ่งในปัญหาหลักที่เกิดขึ้นคือการเพิ่มขึ้นของสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อาหาร สารพิษจากเชื้อรา (mycotoxin) ที่เกิดจากเชื้อราเป็นกลุ่มสารปนเปื้อนที่ร้ายแรงสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชน
ภายในงานมีกิจกรรมเยี่ยมชมทีมวิจัยของไบโอเทค อาทิ  ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านความมั่นคงทางอาหาร (International Joint Research Center on Food Security หรือ IJC-FOODSEC)  ทีมวิจัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ  ทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย Thailand Bioresource Research Center (TBRC) และศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ National Omics Center (NOC)  เป็นต้น


การบรรยายจาก ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ  Dr. Carol Verheecke-Vaessen Cranfield University, UK  เรื่อง A supply-chain approach to sustainable aflatoxin mitigation in LMICs: Ethiopian success story,  Dr. Julie Meneely Queen’s University Belfast, UK เรื่อง The mycotoxin challenge: control and mitigation in food and feed, ผศ.ดร.อวันวี เพ็ชรคงแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Co-director IJC-FOODSEC) เรื่อง  Leftover Fruit peel: From waste to Wealth และการบรรยายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินและการลดความเสี่ยงจากการสัมผัสกับสารพิษจากเชื้อรานอกจากนี้มีการระดมความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ อาทิ การพัฒนาการตรวจหาสารพิษจากเชื้อราในการผลิตอาหารและอาหารสัตว์ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติฯ เชื่อมโยงภาคการวิจัย ภาคศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น


ทั้งนี้ ในการอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือของบุคลากรวิจัยระหว่างภูมิภาคยุโรปและประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัยทางอาหารซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อ SDG อีกทั้งเป็นการพัฒนาให้เกิดความร่วมมือของนักวิจัยให้เกิดการทำงานข้ามศาสตร์ผ่านเครือข่ายที่ไบโอเทคได้มีความร่วมมืออยู่แล้วผ่าน ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านความมั่นคงทางอาหาร (International Joint Research Center on Food Security หรือ IJC-FOODSEC) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Queen’s University Belfast และ สวทช. โดยไบโอเทค โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก Global Challenges Research Fund Networking Grants โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ประกอบด้วยหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ ต่างชาติ จำนวน 38 คน