กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัย
และการค้นหาสารชีวภาพ
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมด้านชุดตรวจวิเคราะห์ทางชีวภาพและการค้นหาสารชีวภาพและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่ออุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทย โดยดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโดยอาศัยองค์ความรู้และเทคโนโลยีฐานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุล อาทิ ชีวสารสนเทศศาสตร์ จีโนมมิกส์ ทรานสคริปโตมิกส์ โปรตีโอมิกส์ และเมตาโบโลมิกส์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างชุดตรวจวินิจฉัยและสารชีวภาพที่มีศักยภาพโดยอาศัยกระบวนการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ำสู่ระดับปลายน้ำ ประกอบด้วย ระดับต้นน้ำ ได้แก่ การค้นหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพ และสารชีวภาพ ระดับกลางน้ำ ได้แก่ การสร้างตัวจับอย่างจำเพาะเจาะจง การพัฒนาและประเมินเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณแบบต่าง ๆ การพัฒนาวิธีการตรวจวัด การพัฒนาสารชีวภาพให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งาน และระดับปลายน้ำ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการทดสอบภาคสนาม รวมทั้งการประเมินความเป็นไปได้และความคุ้มทุนในการผลิตขนาดใหญ่ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไปสู่ผู้ใช้ทั้งภาครัฐและเอกชน
- กลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ ประกอบด้วย 5 ทีมวิจัย
- 1. ทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร
- 2. ทีมวิจัยการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารชีวโมเลกุล
- 3. ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด
- 4. ทีมวิจัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
- 5. ทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้