BIOTEC

ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร

 

ข้อมูลเกี่ยวกับทีมวิจัย

ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชในระบบปิด (Plant factory) โดยเน้นการพัฒนาพันธุ์พืชผักสมุนไพรที่เหมาะสมต่อการปลูกในระบบปิด การขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การศึกษาความต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้ผลผลิตของพันธุ์พืชผักสมุนไพร การกระตุ้นการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชผักสมุนไพร นอกจากนี้มุ่งเน้นการบูรณาการงานวิจัยผ่านความร่วมมือระหว่าง ไบโอเทค กับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ

พันธกิจ
วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพและเคมี เพื่อควบคุมการเจริญพัฒนา และกลไกการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในพืชสมุนไพร ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นที่ยอมรับของตลาด เพื่อเพิ่มผลผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่มูลค่าสูงให้กับเกษตรกร

ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร

1. ฟ้าทะลายโจร มุ่งเน้นการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและผลิตสารสำคัญของสมุนไพรต้นแบบฟ้าทะลายโจรที่พร้อมให้หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม เพื่อสร้างเครือข่ายในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาระบบการผลิตสมุนไพรคุณภาพด้วย plant factory รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรและการใช้สมุนไพรครบวงจรเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจสมุนไพรไทย เพื่อทำการผลิตพืชในโรงงานผลิตพืช (plant factory) ที่สามารถควบคุมการเจริญเติบโต มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ สามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้มีความปลอดภัยเนื่องจากเป็นการผลิตในระบบปิด จึงปลอดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงสารโลหะหนักทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง และมีเสถียรภาพโดยสามารถผลิตได้ตลอดปีและไม่ขึ้นกับสภาพอากาศ และฤดูกาล

2. ปาล์มน้ำมัน มุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันในอาหารเหลว เนื่องจากช่วยทำให้สามารถขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้เป็นจำนวนมากและมีต้นทุนถูกกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารแข็ง ร่นระยะเวลาและลดปัญหาด้านแรงงาน โดยทำการพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันแบบ hybrid system ซึ่งเป็นการใช้อาหารเหลวเพื่อพัฒนาและเพิ่มปริมาณแคลลัส และสามารถพัฒนาเป็นต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทำการพัฒนาเป็นต้นอ่อนด้วย bioreactor เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายต้นอ่อนปาล์มน้ำมันในระดับห้องปฏิบัติการฯ ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ทำการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่น้ำน้อย จำนวน 10,000 ต้น ร่วมกับการส่งมอบเนื้อเยื่อในระยะการพัฒนาให้เป็นต้นในขวดทดลอง จำนวน 50,000 ต้น ให้กับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) เพื่อจำหน่วยให้บริษัทนำไปพัฒนาให้เป็นต้นสมบูรณ์เพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรต่อไป ได้สูตรอาหารเหลวที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมัน ได้องค์ความรู้และปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันในอาหารเหลว ใน bioreactor และวิธีการตรวจสอบการแปรปรวนทางพันธุกรรมโดยได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตร ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยในการเพาะเลี้ยงปาล์มน้ำมันในระบบ bioreactor แบบกึ่งจมที่ใช้ได้จริง

3. ปทุมมา มุ่งเน้นการรวบรวมสายพันธุ์ไทยและนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์ใหม่ร่วมกับเอกชน การประเมินพันธุ์จากการปลูกทดสอบลูกผสมปทุมมาและลูกผสมกระเจียวจำนวน 8 สายพันธุ์ (ร่วมกับเกษตรกรและบริษัท) ผลการดำเนินงานปี 2563 อยู่ระหว่างดำเนินการประเมินพันธุ์จากการปลูกทดสอบลูกผสมปทุมมาและลูกผสมกระเจียวจำนวน 8 สายพันธุ์ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการขึ้นทะเบียนพันธุ์ใหม่ ลูกผสมปทุมมา 8 พันธุ์

ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร

000926

ธีรยุทธ ตู้จินดา

นักวิจัยอาวุโส (ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย)

วิชิต แพพูล

วิชิต แพพูล

ผู้ช่วยวิจัย

สุพัฒนา จันทา

สุพัฒนา จันทา

ผู้ช่วยวิจัย

006388

หทัยรัตน์ จินดามล

ผู้ช่วยวิจัย

ปิยสุดา คงแก้ว

ปิยสุดา คงแก้ว

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

ธนาวุฒิ เฉียงกลาง

ธนาวุฒิ เฉียงกลาง

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

สุชาลี เสือชื้น

สุชาลี เสือชื้น

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

ธนวัฒน์ ก๋าแก้ว

ธนวัฒน์ ก๋าแก้ว

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

802689

อรไพลิน ใจประเสริฐ

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

803139

พิชญา เพชรสง

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

804226

วันวิสาข์ สาโมลี

ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย

ข้อมูลการติดต่อ

ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 02-564-6700