15 พ.ย. 66 ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี – ผู้แทนจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute-MI) นำโดย Mr. Madhurjya Kumar Dutta Director, Trade & Investment Facilitation and Coordinator of Mekong-Republic of Korea Cooperation Fund (MKCF) และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการจากประเทศลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม ไทย และเกาหลี ภายใต้การอบรมหลักสูตร Mekong Institute Structured Learning Visit (SLV) เดินทางเยือนศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (ศช.) สวทช. โดย ดร.เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ ดร.นตพร จันทร์วราสุทธิ์ และ ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพให้การต้อนรับ
โครงการ “Capacity Building on Circular Economy, Resource and Energy Efficiency for Productivity and Sustainability of Cassava Chain to High Value Products: Cassava Root, Native Starch, and Biogas in Mekong Countries” หรือโครงการ CCC นำโดย ดร.วรินธร สงคศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ ไบโอเทค ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือแม่โขงและสาธารณรัฐเกาหลี (Mekong-Republic of Korea Cooperation Fund-MKCF) กว่า 12 ล้านบาท ระหว่างปี 2020-2022 จากความสำเร็จของโครงการ CCC สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute-MI) จึงได้คัดเลือกไบโอเทคให้เป็นสถานที่ศึกษา ดูงาน แก่ผู้เข้าร่วมการอบรมจากประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงและเกาหลี
ดร.เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ นำเสนอข้อมูลภาพรวม ศช. ดร.นตพร จันทร์วราสุทธิ์นำเสนอ “Policy Study: In Support Advocacy and Influencing Work on Biotechnology” ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา นำเสนอ the “Community of Practices” Community outreach in Mekong region: Dissemination of new improved Mekong rice varieties to farmers via farmer participatory selection and sustainable farmer seed production ดร.วรินธร สงคศิริ กลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ นำเสนอตัวอย่างความสำเร็จการเดินโครงการ “Capacity Building on Circular Economy, Resource and Energy Efficiency for Productivity and Sustainability of Cassava Chain to High Value Products: Cassava Root, Native Starch, and Biogas in Mekong Countries (CCC Project): The Successful Implementation of Reginal Project on Sustainable Cassava, Value Chain in The Mekong Region และ ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG) บรรยาย “Biocontrol Technology for Pest and Disease Management”
ในโอกาสนี้ คณะได้เยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุป Food and Feed Innovation Center นำเสนอข้อมูลและให้การต้อนรับโดย ดร.อติกร ปัญญา หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร