การจัดตั้งและพันธกิจ
ไบโอเทคจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ต่อมาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปี พ.ศ. 2534 ไบโอเทคมีเป้าหมายหลักในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศให้เกิดผลทั้งในเชิงความเป็นเลิศทางวิชาการ (Excellence) และเป็นความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยทั้งในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาสังคมและชุมชน (Relevance) เพื่อให้เกิดผลกระทบสูง (Impact)
เสริมสร้างให้เกิดระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านวิจัยเพื่อการสร้าง Research capability/capacity ของประเทศในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นความเชี่ยวชาญของแต่ละสถาบันที่มีความพร้อมระดับหนึ่ง/สร้างบุคคลากรวิจัยในเทคโนโลยีใหม่ๆ เฉพาะทาง พร้อมทั้งเสริมสร้างมหาวิทยาลัยที่เข้มแข็งอยู่แล้วระดับหนึ่งให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ร่วมสร้างและพัมนากลไกการบริหารจัดการงานวิจัยให้พร้อมรองรับการขยายตัวและต่อยอดจากผลงานวิจัยและพัมนา ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพการศึกษาพัฒนาระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดตั้งสถาบันอาหาร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดตั้งโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันและบำบัดโรคเขตร้อน ริเริ่มกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งในระดับนานาชาติ
เติบโตขยายผล สร้างเครือข่ายพันธมิตร ผลงานวิจัยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี นำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอด ขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ สร้างผลกระทบมูลค่าสูง เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ เน้นการทำงานกับประเทศเพื่อนบ้าน
• หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช
• หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านจุลินทรีย์
• หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ
• หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล
• หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช
• หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านจุลินทรีย์
• หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ
• หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล
• ประกาศใช้พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 (จัดตั้ง สวทช.)
• ไบโอเทคจัดตั้งหน่วยบริการชีวภาพเป็นหน่วยบริการแห่งแรกของประเทศไทยที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบสารชีวภาพด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
• เริ่มดำเนินงานวิจัยเอง in-house research
• ค้นพบราแมลงชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย 2 ชนิด
• จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ DNA Fingerprint ด้านพืชในปี 2543 ปรับเปลี่ยนเป็นห้องปฏิบัติการ DNA Technology (DNATEC) บริการตรวจสอบสายพันธุ์พืชและสัตว์
• ถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ครั้งแรกให้กับบริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด เรื่อง“การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมโรคพืช” พัฒนาโดยนายจิระเดช แจ่มสว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากไบโอเทค
• จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ-โยธี
• จัดตั้งห้องปฏิบัติการเก็บรวบรวมสายพันธุ์จุลินทรีย์ (BCC)
• เริ่มโครงการ BRT ร่วมกับ สกว. ทำให้ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่และพัฒนาบุคลากรเพิ่มมากขึ้น
• เริ่มโครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาชนบท และเกษตรกรรายย่อย
• จัดตั้งสถาบันอาหาร ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
• ร่วมกับ มจธ. สนับสนุนการจัดตั้งโรงงานต้นแบบ เพื่อผลิตชีววัตถุและสารมูลค่าสูงของประเทศ มาตรฐาน cGMP
• ไบโอเทคได้รับสิทธิบัตรในต่างประเทศรายการแรกสิทธิบัตรยีนควบคุมความหอมในข้าวและการใช้ประโยชน์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกจากทั้งหมด 10 ประเทศที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร
• สวทช. ปรับโครงสร้างและบูรณาการการบริหารงานวิจัยไบโอเทคปรับเปลี่ยนบทบาทและโครงสร้างองค์กรเป็นหน่วยวิจัยและสร้างความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีฐานเพื่อตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของประเทศ
• ได้รับพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับข้าวไทย (24 มิถุนายน 2552)
• ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวว่า “ธัญสิริน”
• พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ มีส่วนช่วยลดความเสียหายให้แก่เกษตรกร อ.ผักไห่ จากนํ้าท่วมฉับพลัน
• เริ่มโครงการวิจัยร่วมกับ MMV ในการทดสอบยาต้านมาลาเรีย P218 ขั้นต้น ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาสร้างความสามารถเทคโนโลยีฐานด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อนำความรู้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของประเทศ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยให้มีความพร้อมรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ และการพัฒนาบุคลากรวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ